บัวปูนปั้น นครศรีธรรมราช
บัวปูนปั้น ไม้หลาปติมากรรม บัวโชว์ เสาโรมัน นครศรีธรรมราช GRC
- รับผลิตติดตั้ง และ จำหน่าย บัวปูนปั้น บัวโชว์ เสาโรมัน ปูนปั้น ตกแต่ง คิ้วบัว บัวโค้ง งานตกแต่ง GRC บัวปูนปั้น เสาโรมัน นครศรีธรรมราช
- รับติดตั้ง บัวขอบประตูหน้าต่าง
- งานปูนปั้น บัวปูนปั้น ปติมากรรม เสาโรมัน GRC
- รับตกแต่งบ้านพักอาศัย โรงแรมสะพาน อาคารต่างๆ
- รับผลิตงานตามแบบแถมยังมีงานบัวขายสำเร็จรูปพร้อมติดตั้ง
- เรารับงานแบบราคามิตรภาพ เน้นคุณภาพใช้บริการของเราแล้ว ไม่ผิดหวังแน่นอน
- งานคุณภาพ การันตี โดยช่างมากประสบการณ์
- เพราะเราใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต สูตรปูนชนิดแข็งแรงและการบ่มให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรา
งานผลิตเราใส่ใจทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและพัฒนาให้ตอบโจทย์กับลูกค้า ช่าง ผู้รับเหมา และเจ้าของบ้าน โดยมีการพัฒนา สูตรเคลือบผิว ที่เคลือบผิวบัวเพื่อความสวยงามขอบคม แข็งแรงปละคงทนเพื่อยืดอายุการใช้งาน โดยเคลือบผิวแกร่งเพื่อลด ริ้วรอยบนบัวและความสะดวกการขนย้าย การข่นส่ง ลดระยะเวลาในการแต่งผิวบัวของช่างในการเก็บลายละเอียดอีกอย่างมีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ปูนปั้น
การบริการลูกค้า (ภาคใต้)
- ที่ตั้ง : 191/16 หมู่2 ถนนวัดโบสถ์ ตำบล ปากนคร อำเภอ เมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช 80000
- โทร : 084-058-9956
- Line : poppyja555
- Facebook : ป.ปูนปั้น ไม้หลาปติมากรรม นครศรีฯ
ในสมัยโบราณจะมีเพียง 3 ลำดับ ดอริค, ไอโอนิค และโครินเธียน ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวกรีก ต่อมาชาวโรมันก็เพิ่มเสาทัสคันซึ่งเป็นแบบที่เรียบง่ายกว่าดอริค และแบบคอมโพซิทซึ่งมีการตกแต่งมากกว่าโครินเธียน คอลัมน์แบ่งออกเป็นสามส่วน: ลำตัวเสา (shaft), ฐานล่าง และ หัวเสา สิ่งก่อสร้างคลาสสิคจะมีองค์ประกอบตามแนวนอนที่รองรับด้วยเสาที่เป็นคานที่เรียกว่า “entablature” ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน: บัวล่าง (architrave), แถบลายตกแต่ง (frieze) และ บัวคอร์นิซ ความแตกต่างของลำดับสถาปัตยกรรมคลาสสิคทราบได้จากลักษณะของหัวเสาที่ใช้ที่จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป
เสาทั้งต้นและคานประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ “ฐานใต้เสา” (stylobate) ซึ่งเป็นแป้นแบนที่เป็นที่ตั้งของเสา บน “ฐานพลินธ์” (plinth) ซึ่งอาจจะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ซึ่งเป็นส่วนล่างสุดของฐาน ส่วนที่เหลือก็อาจจะตกแต่งด้วยบัว เช่นบัวนูน (torus) หรือ บัวเว้า (scotia) ที่แยกจากกันด้วยแถบ (fillet หรือ band)
บนฐานก็จะเป็น “ลำเสา” (shaft) ที่ตั้งตามแนวดิ่ง ที่จะมีลักษณะเป็นแท่งกลมทั้งยาวและเพรียว ลำเสาบางทีก็จะมีการบากตกแต่งเป็นร่องตามแนวดิ่ง (fluting) ลำเสาตอนล่างจะใหญ่กว่าตอนบน ความแคบลงจะเริ่มตั้งแต่ขึ้นไปได้ราวหนึ่งในสามของเสา ที่ทำให้เสาดูเพรียวขึ้นกว่าความเป็นจริง
“หัวเสา” (capital) จะตั้งอยู่บน “ลำเสา” ที่มีหน้าที่รับน้ำหนักที่กระจายลงมาบนคานลงมยังลำเสา แต่โดยทั่วไปแล้วหัวเสาจะเป็นสิ่งตกแต่งเพื่อความงดงาม หัวเสาที่ง่ายที่สุดคือหัวเสาดอริคที่แบ่งออกเป็นสามส่วน “คอเสา” (necking) คือส่วนที่ต่อจากลำเสา แต่แยกด้วย “บัวเอชินัส” (echinus) อยู่เหนือคอเสาที่เป็นแป้นกลมที่โป่งออกมาไปเพื่อไปรับกับ “แป้นหัวเสา” (Abacus) ที่อาจจะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ที่รองรับคาน
1. Doric Order เป็นเสาโรมันแบบที่เรียบง่าย มั่นคงแข็งแรง เป็นแบบแพร่หลายมากที่สุดและเก่าแก่ที่สุด วิหารที่งามที่สุดของกรีกมักเป็นหัวเสาโรมันแบบนี้ เนื่องจากชาวกรีกนิยม ความเรียบง่าย ลักษณะของเสาส่วนล่างจะใหญ่แล้วเรียวขึ้นเล็กน้อย ตามเสาจะแกะเป็นร่องลึกเว้า (Flute) ๒๐ ร่อง ตอนบนของเสาจะมีคิ้วที่โค้งออกมา ( Echinus) รองรับแผ่นหินสี่เหลี่ยม ( Abacus) ต่อจากนั้นจึงเป็นโครงสร้างของจั่ว
2. Ionic Order เป็นแบบที่ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยนุ่มนวล มีลักษณะเรียบกว่าดอริค ตอนบนและตอนล่างของเสามีขนาดเท่ากัน มีร่องเว้า ๒๐ ร่อง แต่ระหว่างร่องมีแถบเรียง (Filler) คั่นแต่ละร่องเว้า ตอนบนของเสาแกะสลักเป็นรูปก้นหอย ( Volute) ส่วนบนจะมีแผ่น หินสี่เหลี่ยม ( Abacus) คั่นไว้ เสาแบบไอโอนิคนี้มีขนาดเล็กกว่าเสาแบบดอริค และนิยมสร้างฐาน ( Base) ทำให้เสามีรูปทรงระหงมากขึ้นซึ่งต่างจากเสาแบบดอริคที่ไม่นิยมสร้างฐานรองรับ
3. Corinthian Order ให้ความรู้สึกหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมนำมาเป็นแบบอย่างใน สมัยโรมัน ลักษณะหัวเสามีการตกแต่งโดยแกะเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ โดยดัดแปลงมาจากใบอาคันธัส (Acanthus) รูปร่างคล้ายผักกาด ทำเป็นใบซ้อนกันสองชั้น แล้วแต่งด้วยดอกไม้ ส่วนล่างของเสามีฐานรองรับแบบเดียวกับไอโอนิค เป็นเสาโรมันที่มีความงดงามมาก
คอลัมน์แบ่งออกเป็นสามส่วน: ลำตัวเสา (shaft) ฐานล่าง และ หัวเสา สิ่งก่อสร้างคลาสสิกจะมีองค์ประกอบตามแนวนอนที่รองรับด้วยเสาที่เป็นคานที่เรียกว่า เอนทาเบลเชอร์ (entablature) ซึ่งแบ่งออกเป็นสามส่วน: หน้ากระดานทับหลัง (architrave), แถบลายตกแต่ง (frieze) และบัวคอร์นิซ ความแตกต่างของเสาแบบคลาสสิกทราบได้จากลักษณะของหัวเสาที่ใช้ที่จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป